ยินดีที่แวะมาเยี่ยม web blog ทักษะการจัดการความรู้ (KM) ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียนศตวรรษที่ 21 วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ขอบคุณคุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา และเพื่อนๆ ที่แนะนำให้คำปรึกษา

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 20 วีธีการทางประวัติศาตร์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์

วีธีการทางประวัติศาตร์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์

        วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการสีบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยของคนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเริ่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้วคือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดละออ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชนิดด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้องอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้

สัปดาห์ที่ 19 วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ 


        หมายถึง กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเล่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้ว คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดลออ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชิ้นด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้ จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้อมอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้
        คนเราจะเดินหน้าต่อไปได้ยังไงครับ ถ้าไม่รู้อดีตของตัวเอง ของบรรพบุรุษ ของประเทศ อย่างเช่น การเสียกรุง ครั้งที่ หนึ่ง กับสอง เพราะคนไทยเเตกเเยกกันเองนะครับ ผู้นำก็ไม่เข้มเเข็ง  การศึกษาปประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เเค่ช่วยการศึกษานะครับ เเต่ยังช่วยให้มองเห็นการผิดพลาด ของบรรพพบุรุษในอดีต เเละ การที่บรรพบุรุษรักกษาเอกราชด้วยการเสียชีวิตตัวเองนั้น ก็เพื่อให้พวกเราเรียกตัวเองไเด้ ว่าเราเป็นคนไทย 

        ประวัติศาสตร์ไม่ได้มีคุณค่าเเค่การศึกษานะครับ มีคุณค่า ต่อการที่เราจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร เเละมีคุณค่าต่อความเป็นคนไทยครับ มีค่าต่อการศึกษาในเเง่เราได้ศึกษา การเมืองในสมัยนั้น การค้าขาย การพฒนาสังคม วิถีชุมชนในอดีต การวิเคราะห์เหตการณ์ต่างๆๆ เเล้วนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันเพพื่อวางเเผนป้องกันไม่ให้เกิดผิดพลาดอีก 

        หลายๆคนอาจพูดว่า อย่าไปสนใจอดีตเลย ผ่านไปปเเล้ว เเต่เค้าเหล่านั้นคิดเเบบไร้สติครับ คนเราต้องเรียนรู้จากอดีต เพื่อหาหนทาง ปป้องกันวางเเผน ในปัจจุบันเเละอนาคต

สัปดาห์ที่ 18 การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์


        คือการวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง 

        ความสำคัญนั้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด

        1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
           1.1 หลักฐานชั้นต้น
           1.2 หลักฐานชั้นรอง

        2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
           2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
           2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

        3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
           3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
           3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
        1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources
       หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ                                                                                      
        1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources                       
        หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น

2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด

        2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources
   หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
        2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
   หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ

3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต

        3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface
หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
        3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

สัปดาห์ที่ 17 ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์


        แม้ว่างานวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์จะเป็นเพียงข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งของอดีตก็ตาม ย่อมจะส่งผลมาถึงเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอาจมีอิทธิพลไปถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้ ดังนั้นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จึงมีประโยชน์สำคัญดังนี้
        8.1 ทำให้เราทราบสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และเมื่อพบปัญหาที่จะเกิดขึ้นในสภาพเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก
        8.2 ผลการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์สามารถนำมาใช้แก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ในปัจจุบันได้ ทั้งนี้เพราะการวิจัยนี้จะพบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นจุดบกพร่อง ซึ่งสามารถนำมาแก้ไขข้อบกพร่องของงานในปัจจุบันได้
        8.3 เนื่องจากความเป็นมาในอดีตเป็นรากฐานของความเป็นอยู่และความเป็นไปในปัจจุบันและส่งผลต่อไปในอนาคตด้วย ดังนั้นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จึงใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบันได้
        8.4 เพื่อใช้เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และเป็นพื้นฐานแก่ผู้ที่จะทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป

สัปดาห์ที่ 16 ข้อบกพร่องของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

ข้อบกพร่องของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

        เราทราบแล้วว่าการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการค้นหาความจริงทางประวัติศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์หรือความจริงที่ผ่านมาแล้ว งานวิจัยทางด้านนี้มักจะพบข้อบกพร่องที่สำคัญคือ
        7.1 ปัญหาหรือเรื่องที่จะทำการวิจัยเป็นเรื่องที่กว้างเกินไป
        7.2 มักใช้ข้อมูลชั้นรองมากกว่าข้อมูลชั้นต้น
        7.3 ข้อมูลมีไม่เพียงพอ คือผู้วิจัยไม่สามารถแสวงหาข้อมูลมาสนับสนุนผลสรุปได้อย่างเพียงพอ
        7.4 การคัดเลือกข้อมูลไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากผู้วิจัยขาดประสบการณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลไม่ดีพอ ทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่น่าเชื่อถือ ไม่ถูกต้อง และไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ นอกจากนี้อาจเกิดจากผู้วิจัยมีอคติ หรือความลำเอียงในการคัดเลือกข้อมูลอีกด้วย
        7.5 การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักตรรกศาสตร์บกพร่อง คือ
            1) สรุปผลหรือยอมรับข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลที่ง่ายเกินไป ทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปผลอย่างนั้น
            2) ตีความหมายของคำหรือเรื่องราวต่าง ๆ ในข้อมูลผิด
            3) การขยายความคลุมกว้างเกินไปทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ
            4) ไม่สามารถแยกหาประเด็นสำคัญ ๆ ของข้อเท็จจริงได้
        7.6 การวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าของข้อมูลไม่เพียงพอ
        7.7 ผู้วิจัยมักจะมีความลำเอียงส่วนตัวเกี่ยวกับลัทธิการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา ทำให้มีแนวโน้มที่จะเขียนรายงานคลาดเคลื่อนไป
        7.8 การเขียนรายงานการวิจัยมักขาดการวิเคราะห์ วิจารณ์ และเขียนในรูปแบบที่ไม่ชวนศึกษา เช่น ใช้ภาษากำกวม เขียนเล่นสำนวน วกวน หรือเสริมแต่ง ตลอดจนมีลักษณะเกลี้ยกล่อมให้เชื่อเกินไป ซึ่งวิธีการเขียนดังกล่าวนี้ทำให้น้ำหนักของความเชื่อถือลดน้อยลง

สัปดาห์ที่ 15การวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าข้อมูลในทางประวัติศาสตร์

6. การวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าข้อมูลในทางประวัติศาสตร์

        เนื่องจากการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วในอดีต จึงมักต้องใช้ข้อมูลซึ่งมาจากรายงานของผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์หรือพยานในเหตุการณ์ ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจึงจำเป็นจะต้องใช้ความรอบคอบและระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงในสิ่งนั้น ในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์มีการวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าข้อมูลอยู่ 2 แบบคือ

        6.1 การวิจารณ์หรือการประเมินภายนอก (External criticism or External appraisal) เป็นการประเมินและพิสูจน์ว่าข้อมูลที่เก็บนั้นเป็นอันเดียวกันกับข้อมูลที่ผู้วิจัยมุ่งจะเก็บหรือไม่ หรือเป็นการพิจารณาว่า “ข้อมูลนั้นเป็นของแท้หรือมีความเป็นจริงหรือไม่” นั่นเอง เช่น เอกสารหรือซากโบราณ วัตถุนั้นเป็นของจริงหรือของปลอมหรือจำลองขึ้นมา จำเป็นจะต้องมี การตรวจสอบและพิสูจน์แหล่งที่มาของข้อมูล เช่น อาจใช้การตรวจสอบลายเซ็น ลายมือ ต้นฉบับ การสะกดคำ การใช้ภาษา สำนวนโวหารในการเขียน ตลอดจนค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องในสมัยเดียวกัน เป็นต้น
ในการวิจารณ์ หรือการประเมินผลภายนอกนี้ อาจพิจารณาได้จาก 3 ประเด็นนี้คือ (กาญจนา มณีแสง. หน้า 103 - 104)
            1) สภาพสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลทำให้เกิดหลักฐานชิ้นนั้น
            2) ความรู้ทั่วไป เช่น สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของข้อมูลถูกต้องตรงกับความรู้ของเราหรือไม่
            3) มีการดัดแปลง ปลอมแปลง ประดิษฐ์เพิ่มเติมให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริงหรือไม่
        ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามใช้วิธีการทดสอบทางฟิสิกส์และเคมี ในการตรวจสอบอายุของโครงกระดูก กระดาษ ใบลาน หมึก แผ่นหนัง หนังสือ ก้อนหิน โลหะ เสื้อผ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าสามารถตรวจสอบได้ เช่น การตรวจสอบหาอายุของโครงกระดูกมนุษย์โบราณโดยใช้ C14 ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น อันจะช่วยให้เราตัดสินได้ว่าข้อมูลนั้นเป็นของแท้หรือมีความเป็นจริงเพียงใดได้
        6.2 การวิจารณ์หรือการประเมินผลภายใน (Internal criticism or Internal appraisal) เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ลึกซึ้งลงไปอีก เพื่อทราบว่า ข้อมูลนั้นมีคุณภาพที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้หรือไม่ มีคุณค่าเพียงใด โดยพิจารณาถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นดังนี้
            1) พิจารณาผู้เขียนว่าเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้หรือไม่ มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ หรือรู้เห็นในเรื่องนั้น ๆ จริงหรือไม่เพียงใด
            2) พิจารณาว่าผู้เขียนเขียนในขณะที่มีสภาพจิตใจที่เป็นปกติหรือไม่ เช่น ไม่ได้อยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับให้เขียน หรือมีความกดดันทางอารมณ์
            3) พิจารณาว่าผู้เขียนบันทึกหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้วนานเท่าใด พอจะเชื่อถือได้หรือไม่ว่ายังจำเหตุการณ์นั้นได้
            4) พิจารณาว่าเอกสารนั้นมีบรรณานุกรมที่แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ค้นคว้ามามากน้อยเพียงใด
            5) พิจารณาว่าข้อความที่เขียนนั้นมีอคติเกี่ยวกับศาสนา เชื้อชาติ ลัทธิการเมือง ผลประโยชน์ส่วนตัว หรือสภาวะทางเศรษฐกิจหรือไม่
            6) พิจารณาว่าภาษาหรือสำนวนที่ใช้หรือเรื่องราวที่รายงานนั้นอ้างอิงมาจากบุคคลอื่น ๆ หรือเป็นคำพูดของผู้เขียนเอง
            7) พิจารณาว่าการเขียนนั้นมีแรงจูงใจในการบิดเบือนความจริงหรือไม่ เช่น การได้รับแหล่งเงินสนับสนุน เป็นต้น
            8) พิจารณาว่าเอกสารนั้นพอเพียงทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณที่จะนำมาใช้ในการวิจัยหรือไม่
            9) พิจารณาการจัดเรียงหัวข้อว่าวกไปวนมาหรือไม่ และในแต่ละหัวข้อผู้เขียนกล่าวถึงเรื่องนั้น ๆ ละเอียดมากน้อยเพียงใด
            10) พิจารณาว่าผู้อื่นเห็นด้วยกับผู้เขียนนั้นหรือไม่
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เอกสารหรือข้อมูลเหล่านั้นมีความถูกต้องเที่ยงตรงและเชื่อถือได้เพียงใด แต่เมื่อได้พิสูจน์ว่า เอกสารนั้น ๆ มีความถูกต้องเที่ยงตรงแล้ว ย่อมจะเห็นหลักฐานที่เชื่อถือได้

สัปดาห์ที่ 14 ลำดับขั้นของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

5. ลำดับขั้นของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

        ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ มีลำดับขั้นในการทำดังนี้
        5.1 เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย จุดประสงค์ก็คือ
            1) เพื่อช่วยในการกำหนดขอบข่ายของงานวิจัย
            2) เพื่อช่วยให้สามารถพิจารณาได้ว่าหัวข้อปัญหาในการวิจัยนี้เหมาะสมหรือไม่ จะหาข้อมูลได้จากที่ไหน
            3) เพื่อช่วยให้สามารถพิจารณาได้ว่า ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์หรือมีคุณค่าต่อการศึกษาหรือไม่
        5.2 ตั้งจุดมุ่งหมายของการวิจัย โดยอาจจะตั้งเป็นสมมติฐานเพื่อช่วยให้สามารถกำหนดรูปแบบของการวิจัยได้
        5.3 รวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจจะได้จากแหล่งปฐมภูมิหรือแหล่งทุติยภูมิ ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องทราบว่า จะศึกษาข้อมูลนั้นได้จากไหน ค้นคว้าได้โดยวิธีใด
        5.4 จัดกระทำข้อมูลที่รวบรวมได้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ วิจารณ์ข้อมูล
        5.5 ประเมินผลข้อมูล โดยทำการวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าทั้งภายนอกและภายใน
        5.6 เขียนรายงานการวิจัย ซึ่งอาจเขียนได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ
        1) เสนอตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
        2) เสนอตามกรอบหรือโครงร่างของเนื้อหาวิชา

สัปดาห์ที่ 13 ลักษณะของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

4. ลักษณะของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

        ลักษณะที่สำคัญของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ พอจะสรุปได้ดังนี้
        4.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์พยายามอธิบายเหตุการณ์ในอดีตเพื่อประโยชน์ของการอธิบายเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอาจใช้ทำนายเหตุการณ์ในอนาคตได้
        4.2 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์มักไม่ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่จะใช้วิธีการวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลเพื่อตีความหมายข้อมูลและสรุปผล
        4.3 ลักษณะข้อมูลของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จะเป็นหลักฐานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตและข้อมูลส่วนใหญ่จะได้มาจากแหล่งทุติยภูมิมากกว่าแหล่งปฐมภูมิ
        4.4 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการวิจัยที่ใช้เอกสารและห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงอาจเรียกการวิจัยนี้อีกอย่างหนึ่งว่า การวิจัยเอกสาร (Documentary research) หรือการวิจัยห้องสมุด (Library research)
        4.5 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ผู้วิจัยไม่สามารถสร้างสถานการณ์เพื่อทดสอบผลการวิจัยได้
        4.6 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ผู้วิจัยไม่มีส่วนร่วมในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพียงแต่นำเอาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมาวิเคราะห์เท่านั้น
        4.7 หลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์นั้นเกิดขึ้นเองตามเหตุการณ์ ไม่สามารถจัดให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของผู้วิจัยได้

สัปดาห์ที่ 12 แหล่งที่มาของข้อมูลในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

3. แหล่งที่มาของข้อมูลในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

        ในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จะเก็บรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะได้จากแหล่งของข้อมูล 2 ประเภทด้วยกันคือ
        3.1 แหล่งของข้อมูลชั้นต้นหรือข้อมูลปฐมภูมิ (Primary sources) เป็นแหล่งของข้อมูลที่ผู้วิจัยได้จากหลักฐานเดิมหรือหลักฐานที่เป็นต้นตอ โดยผู้วิจัยเป็นผู้สังเกตการณ์ที่บันทึกโดยตรงหรือเป็นข้อมูลที่ได้จากคำบอกเล่า การบันทึกหรือรายงานของคนที่มีส่วนร่วมหรือเป็นพยานในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นั้น แหล่งของข้อมูลชั้นต้น ได้แก่

        1) เอกสารต่าง ๆ (Documents) หรือบันทึกที่รายงานโดยผู้อยู่ในเหตุการณ์หรือเป็นพยานของเหตุการณ์ ข้อมูลชั้นต้นที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่
            - เอกสารหรือบันทึกของทางราชการ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการเสียภาษี กฎหมายต่าง ๆ ประกาศ ระเบียบ สถิติต่าง ๆ ประกาศนียบัตร คำพิพากษา คำให้การ สารตรา โฉนด ใบอนุญาต ใบรับรอง เป็นต้น
            - เอกสารหรือบันทึกของคนในสมัยนั้น เช่น จดหมาย จดหมายเหตุ ไดอารี สัญญาต่าง ๆ พินัยกรรม หนังสือ จุลสาร เรื่องราวในหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ บันทึกของสำนักงาน อัตชีวประวัติ คำสอน งานวิจัย เป็นต้น
            - หลักฐานทางภาพและเสียงในประวัติศาสตร์ เช่น ภาพนิ่ง ภาพยนตร์ ภาพถ่าย ภาพวาด แผนที่ แผนภูมิ เทปบันทึกเสียง เป็นต้น

        2) ซากโบราณวัตถุ (Remains or Relics) ได้แก่ ซากสิ่งปรักหักพัง ซากพืช ซากสัตว์ที่กลายเป็นหิน โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ ภาพชนะ อาวุธ เครื่องประดับ เครื่องตกแต่ง ถ้วย โล่ เสื้อผ้า เหรียญต่าง ๆ เหรียญตรา อาคาร อนุสาวรีย์ เป็นต้น แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นหลักฐานที่ชี้บ่งถึงการดำเนินชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมของคนในสมัยนั้นด้วย

        3) คำให้การหรือหลักฐานทางคำพูด (Oral testimony) ได้แก่ เรื่องที่พูดโดยพยานหรือผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์

        3.2 แหล่งของข้อมูลชั้นรองหรือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary sources) เป็นแหล่งของข้อมูลที่ได้จากรายงาน หรือถ่ายทอดมาจากข้อมูลชั้นต้น หรือข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อมูลหรือหลักฐานนั้นถูกรายงานโดยผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมหรือเป็นพยานในเหตุการณ์นั้น ผู้เขียนจะรายงานหรือถ่ายทอดในสิ่งที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์พูด หรือเขียน หรือถ่ายทอดในลักษณะต่าง ๆ ไว้ หรืออาจจะถ่ายทอดมาหลายทอดก็ได้ ดังนั้นการนำมาใช้ในการวิจัยจึงต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ แหล่งของข้อมูลชั้นรองได้แก่ ตำราเรียนทางประวัติศาสตร์ หนังสือพงศาวดาร วารสาร สารานุกรม เป็นต้น

        โดยทั่วไปแล้ว นักประวัติศาสตร์ นักวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ มักจะใช้ข้อมูลชั้นต้นหรือข้อมูลปฐมภูมิ เพราะมีความเชื่อถือได้มากกว่าและจะใช้ข้อมูลชั้นรองหรือข้อมูลทุติยภูมิก็ต่อเมื่อไม่สามารถจะหาข้อมูลชั้นต้นได้

สัปดาห์ที่ 11 ความมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

2. ความมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

โดยทั่วไปแล้วการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จะมีความมุ่งหมายดังนี้
        2.1 เพื่อค้นหารากฐานหรือจุดกำเนิดของสิ่งที่ต้องการศึกษาวิจัย
        2.2 เพื่อศึกษาและชี้ให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ในอดีต
        2.3 เพื่อให้เข้าใจสภาพเหตุการณ์ในปัจจุบัน อันอาจจะมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งกฎเกณฑ์หรือปรับปรุงงานในปัจจุบันให้มีมาตรฐานได้
        2.4 เพื่อใช้เหตุการณ์ในอดีตหรือความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ในอดีต เป็นแนวโน้มที่จะชี้บ่งหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคตที่คล้ายคลึงกัน
        2.5 เพื่อค้นหาข้อสมมติฐานที่ตั้งขึ้นบนรากฐานของความรู้และประสบการณ์ในอดีตที่จะนำไปใช้ในอนาคตได้
        2.6 เพื่อศึกษาต้นตอของทฤษฎีต่าง ๆ อันจะทำให้เกิดความกระจ่างในเรื่องราวหรือทฤษฎีที่สำคัญ ๆ ในปัจจุบัน
        2.7 เพื่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และช่วยให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และเรื่องราวที่จะเกิดในอนาคต
        2.8 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความจริงให้มากขึ้นตามลำดับ และเป็นการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์หรือเรื่องราวในอดีต
        2.9 เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

สัปดาห์ที่ 10 ชนิดของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

ชนิดของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

        การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการวิจัยที่พยายามวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อหาข้อเท็จจริงในอดีต นักวิจัยได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ชนิดคือ
        1.1 การศึกษาเป็นรายกรณี เป็นการศึกษาที่ชี้เฉพาะลงไปโดยอาจศึกษากับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสถาบัน เอกสารหรือกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งก็ได้
        1.2 การศึกษาพัฒนาการ เป็นการศึกษาความแตกต่างของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งในระยะใดระยะหนึ่ง โดยอาจศึกษาเหตุการณ์ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนของเหตุการณ์นั้นก็ได้
        1.3 การศึกษาความเปลี่ยนแปลง การศึกษาแบบนี้คล้ายคลึงกับแบบที่สอง แต่เป็นการเปรียบเทียบลักษณะการเปลี่ยนแปลงในเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีตกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายทางการศึกษา โดยในอดีตการศึกษาต้องการเตรียมคนเข้ารับราชการ แต่ปัจจุบันเป็นการเตรียมคนเข้าประกอบอาชีพต่าง ๆ หลายอาชีพ ไม่ชี้เฉพาะแต่การเข้ารับราชการเท่านั้น

สัปดาห์ที่ 9 ข้อจํากัดของเรื่องราว เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

ข้อจํากัดของเรื่องราว เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์


        การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นวิธีแสวงหาข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วในอดีต โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้การรวบรวมข้อมูล การสืบเสาะหาข้อเท็จจริง การตรวจสอบข้อเท็จจริง การวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสรุปผลเป็นไปอย่างถูกต้อง สมเหตุสมผล และสามารถนำผลที่ได้มาใช้ในการอธิบายสภาพความเป็นจริงในอดีต หรือบันทึกเหตุการณ์ในอดีตในรูปใหม่ที่มีระบบและมีความเป็นปรนัยยิ่งขึ้น ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญ ๆ ของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

สัปดาห์ที่ 8 การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ไทย

การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ไทย
        ในอดีตการจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อ พ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า "เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1"

        ส่วน ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้

        การตั้งถิ่นฐานของผู้คน นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น
  1. การเข้ามาของอารยธรรมใหญ่ คืออินเดียและจีน
  2. ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 13
  3. ยุคสมัยของการค้า (คริสต์ศตวรรษที่ 15-17)
  4. ประเทศไทยก่อนสมัยใหม่
  5. รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม
  6. การปฏิวัติ 2475 และกำเนิดรัฐประชาชาติในทางทฤษฎี
  7. การปฏิวัติ 14 ตุลาคม 2516

สัปดาห์ที่ 7 การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ยุโรป

การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ยุโรป

        ความนิยมในการแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์ยุโรปมักแบ่งเป็น 3 สมัย ได้แก่

  1. สมัยโบราณ (Ancient History)
  2. สมัยกลาง (Medieval History)
  3. สมัยใหม่ (Modern History)
        อย่างไรก็ดี การกำหนดเวลาเริ่มต้นของแต่ละสมัยสมัยนั้นยังไม่เป็นที่ยุติ เช่น นักประวัติศาสตร์บางท่านถือเอาว่าประวัติศาสตร์สมัยกลางเริ่มต้นใน ค.ศ. 284 อันเป็นปีที่จักรพรรดิไดโอคลิเซียน (Diocletian) ขึ้นครองราชย์ แต่บางท่านก็เห็นว่าควรเริ่มต้นใน ค.ศ. 476 ปีที่อาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลายลง เป็นต้น

สัปดาห์ที่ 6 การศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะหัวข้อ

การศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะหัวข้อ
        คือการศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะด้านในดินแดนต่าง ๆ เดิมแบ่งการศึกษาออกเป็นหัวข้อใหญ่ ดังนี้

  1. ประวัติศาสตร์การเมือง
  2. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
  3. ประวัติศาสตร์สังคม
        ต่อมา เมื่อการศึกษาประวัติศาสตร์มีพัฒนาการมากขึ้น ทำให้มีการศึกษาในหัวข้อเฉพาะและลึกซึ้งมากกว่าเดิม เช่น

  1. ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม
  2. ประวัติศาสตร์พรรคการเมือง
  3. ประวัติศาสตร์การทหาร
  4. ประวัติศาสตร์การทูต
  5. ประวัติศาสตร์พัฒนาการของกลุ่มชาติพันธุ์
  6. ประวัติศาสตร์สตรี
  7. ประวัติศาสตร์สงคราม
  8. ประวัติศาสตร์ลัทธิทุนนิยม
  9. ประวัติศาสตร์ศิลปะ
  10. ประวัติศาสตร์การละคร
  11. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ ฯลฯ

สัปดาห์ที่ 5 การจำแนกประเภทของการศึกษาประวัติศาสตร์

การจำแนกประเภทของการศึกษาประวัติศาสตร์

        หากศึกษาพัฒนาการของการศึกษาประวัติศาสตร์ในดินแดนต่าง ๆ พบว่าการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของมนุษย์และสังคมของตนเริ่มจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและค่อย ๆ ขยายไปสู่สังคมที่ไกลตัวออกไป โดยทั่วไปสามารถแบ่งขอบเขตการศึกษาประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การศึกษาเฉพาะพื้นที่และการศึกษาเฉพาะหัวข้อ

การศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะพื้นที่
        คือการใช้พื้นที่ทางภูมิศาสตร์กำหนดขอบเขตของการศึกษา โดยเน้นศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในกรอบพื้นที่ จำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

ประวัติศาสตร์โลก (World History)
        คือการศึกษาเรื่องราวและพัฒนาการของสังคมโลกในลักษณะที่เป็นองค์รวม ไม่เน้นเขตพื้นที่ใดโดยเฉพาะ เช่น การศึกษาอารยธรรมโลก การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การขยายตัวของลัทธิล่าอาณานิคม สงครามโลก และสงครามเย็นเป็นต้น

ประวัติศาสตร์ชาติ (National History)
        คือการศึกษาเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (Local History)
        คือการศึกษาประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่เฉพาะ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติศาสตร์เมือง/จังหวัด โดยเนื้อเรื่องที่ศึกษาอาจจะเน้นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กำเนิด/พัฒนาการของสถาบันใดสถาบันหนึ่งในท้องถิ่น อาชีพ กลุ่มชนต่าง ๆ เชื้อชาติ ศาสนา และประเพณีในท้องถิ่น ฯลฯ

สัปดาห์ที่ 4 คุณสมบัติผู้ศึกษาประวัติศาสตร์

คุณสมบัติผู้ศึกษาประวัติศาสตร์
    นักประวัติศาสตร์จะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบด้วย

  1. มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
  2. มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
  3. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurary)
  4. มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
  5. มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ (Logic)
  6. มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
  7. มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
  8. มีจินตนาการ (Historical imagination)

สัปดาห์ที่ 3 ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์

ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์
  1. จะช่วยให้มนุษย์เกิดสำนึกในการค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบัน อันสร้างความภูมิใจและกระตุ้นความรู้สึกนิยมในชาติหรือเผ่าพันธุ์ ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้, 
  2. ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะทำให้เข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบจากปัญหา, 
  3. การศึกษาประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินนโยบายให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบันและอนาคต, 
  4. วิธีการทางประวัติศาสตร์ทำให้ผู้ศึกษาสั่งสมประสบการณ์และทักษะในการวิเคราะห์ ไต่สวน และแก้ปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาศาสตร์แขนงอื่น ๆ คุณสมบัตินี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรในสังคมที่เจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการสูง

สัปดาห์ที่ 2 ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

        ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร

        ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

        ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก

        ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐานการตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

        ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นลักษณะ ประเภท และความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์

        ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน

            "ประวัติศาสตร์" ไว้ เช่น
        
        อาร์. จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) อธิบายว่าประวัติศาสตร์คือวิธีการวิจัยหรือการไต่สวน ... โดยมีจุดมุ่งหมายจะศึกษาเกี่ยวกับ ... พฤติการณ์ของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในอดีต (history is a kind of research or inquiry ... action of human beings that have been done in the past.)

        อี. เอช. คาร์ (E. H. Carr) อธิบายว่าประวัติศาสตร์นั้นก็คือกระบวนการอันต่อเนื่องของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อมูลของเขา ประวัติศาสตร์คือบทสนทนาอันไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างปัจจุบันกับอดีต (What is history?, is that it is a continuous process of interaction between the present and the past.)

        ส่วน ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสหรัฐอเมริกาอธิบายถึงคำว่าประวัติศาสตร์และเตือนผู้ศึกษา/อ่านประวัติศาสตร์ไว้น่าสนใจ ดังนี้ "การเข้าใจอดีตนั้นคือประวัติศาสตร์ ... เราต้องเข้าใจว่าความรู้เกี่ยวกับอดีตนั้นสร้างใหม่ได้เรื่อยๆ เพราะทัศนะมุมมองของสมัยที่เขียนประวัติศาสตร์นั้นเปลี่ยนอยู่เสมอ ..."

สัปดาห์ที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์

        คือกระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย

        การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

  1. การรวบรวมหลักฐาน
  2. การคัดเลือกหลักฐาน
  3. การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
  4. การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
  5. การนำเสนอข้อเท็จจริง
        นอกจากนี้ รอบิน จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Idea of History ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้

        วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
        นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน
การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป

        วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม


วิธีการทางประวัติศาสตร์

            1. วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง วิธีการที่ผู้ต้องการสืบค้น เรื่องราวในอดีต ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และเรียบเรียงเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์
            2. วิธีการทางประวัติศาสตร์มีความ สำาคัญ คือ สามารถใช้ในการสืบค้นเรื่อง ราวต่าง ๆ ที่สนใจได้ เช่น การหาความ รู้เกี่ยวกับ โรงเรียน วัด ชุมชน จังหวัด หรือภูมิภาคของตน ซึ่งเป็นเรื่องราว ใกล้ ตัวและเราสามารถหาหลักฐาน ได้จาก แหล่งข้อมูลที่มี อยู่ในพื้นที่ เช่น วัด พิพิธภัณฑ์ สถานที่สำาคัญในท้องถิ่น เป็นต้น
            3. การใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ถ้านักเรียนสนใจอยากทราบว่า จังหวัดของเรามีประวัติความเป็นมา อย่างไร มีเรื่องราวใด ที่น่าสนใจน่ารู้บ้าง นักเรียนสามารถใช้วิธีการทาง ประวัติศาสตร์ศึกษาค้นคว้าได้ตามขั้นตอน
            4. กำาหนดเรื่องที่จะศึกษา เป็นขั้นตอนแรกของวิธีการ ศึกษาหาความรู้ โดยตั้งประเด็นคำาถาม เกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาที่แน่นอน ต้อง ถามตัวเองในประเด็นที่ต้องการรู้ ได้แก่ ใคร ทำาอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำาไม อย่างไร และต้องเป็นคำาถามที่ตอบได้และ นำาไปสู่การค้นคว้าความรู้ที่ลึกซึ้ง หรือ
            5. ตัวอย่าง ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคอาจ เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และขยายขอบเขต การ ศึกษาออกไปเป็นระดับอำาเภอ ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค เช่น ประวัติวัดสำาคัญในชุมชน / อำาเภอ / จังหวัด / ภูมิภาค สถานที่สำาคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค
            6. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เมื่อมีประเด็นที่จะศึกษาแล้ว ขั้นต่อมาคือ การค้นคว้าและรวบรวมหลักฐานข้อมูลทุก ประเภทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา ทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐาน ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหลักฐาน ชั้นต้นจะมีความสำาคัญและน่าเชื่อถือกว่าหลัก ฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองจะช่วย อธิบายเรื่องราวให้เข้าใจง่ายกว่าหลักฐานชั้น ต้น โบราณสถานสบ โบราณสถาน โบราณวัตถุ
            7. หลักฐานชั้นต้น ลักษณะ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่เป็นของ ร่วมสมัยหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ตัวอย่างได้แก่ ข้อมูลจากการสอบถามผู้ที่ อยู่ในเหตุการณ์ บันทึกของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ภาพถ่าย วีดิโอเทป สิ่งของเครื่องใช้ สิ่ง ก่อสร้าง เป็นต้น
            8. หลักฐานชั้นรอง ลักษณะ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่เขียน หรือรวบรวมไว้ภายหลังเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น ตัวอย่างได้แก่ บทความทางวิชาการ หนังสือต่าง ๆ
            9. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ลักษณะ เป็นหลักฐานข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ ตัวอย่างได้แก่ จารึก พงศาวดาร จดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ จดหมาย บันทึก เอกสารทางราชการ เป็นต้น
            10. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ลักษณะ เป็นหลักฐานข้อมูลที่ไม่เป็นตัวหนังสือ ตัวอย่างได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ของคนใน สมัยต่าง ๆ วัด เจดีย์ อนุสาวรีย์ เครื่องประดับ อาคารบ้านเรือนเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น พระพุทธรูปหินทรายที่จัด เก็บในพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว เครื่องถ้วยชาม ภายในหอ วัฒนธรรมนิทัศน์พะเยา
            11. ตรวจสอบหลักฐาน ขั้นตอนนี้คือ การตรวจสอบข้อมูลหลักฐาน ที่เรารวบรวมมาว่ามีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ มากน้อยเพียงใด วิธีการตรวจสอบหลักฐาน ได้แก่ เปรียบ เทียบจากข้อมูลหลาย ๆ ฉบับว่าเหมือนหรือ ต่างกันอย่างไร พิจารณาจากหลักฐานที่มีอยู่ หรือว่าหลักฐานดังกล่าวผ่านการตรวจสอบ ความถูกต้อง จากผู้เชี่ยวชาญมาแล้ว เรียกวิธี การนี้ว่า การวิพากษ์หลักฐาน
            12. การวิพากษ์หลักฐาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ การวิพากษ์ภายนอก คือตรวจสอบและ พิจารณาคุณค่าหลักฐานว่าเป็นของจริงหรือ ปลอม ชำารุดหรือไม่ อายุของหลักฐาน คัด ลอกมาถูกหรือไม่ ผู้สร้างหลักฐานมีความเป็น มาอย่างไร การวิพากษ์ภายใน คือการตรวจสอบความ ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลว่ามีคุณค่า ทางประวัติศาสตร์เพียงใด สอดคล้องกับข้อมูล ในหลักฐานอื่นหรือไม่
            13. การตีความหลักฐาน เมื่อรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือแล้ว พิจารณาศึกษาความหมาย ในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาแอบแฝง หรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะต้องเข้าใจความหมาย ทัศนคติ ความเชื่อ สภาพแวดล้อม ของผู้เขียน และสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย ซึ่งต้อง อาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา และที่สำาคัญ ต้องมีใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ เพื่อให้ได้ข้อเท็จ จริงทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับความเป็น จริงมากที่สุด
            14. การนำาเสนอข้อมูล เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทาง ประวัติศาสตร์ โดยผู้ศึกษาต้องนำข้อมูลที่ผ่าน การตรวจสอบ และเลือกสรรแล้ว มาเรียบเรียง เพื่อตอบคำาถามหรืออธิบายข้อสงสัยตามประเด็น ที่ต้องการศึกษาโดยใช้หลักฐานข้อมูลต่างๆ มา อ้างอิงอย่างเป็นเหตุเป็นผล การนำาเสนอสู่สาธารณะผ่านการเขียนบทความ การประชุม สัมมนา อภิปราย รายงาน บรรยาย ซึ่งการนำาเสนอข้อมูลเช่นนี้นำาไปสู้การสร้างแนว ความคิดใหม่ หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทาง ประวัติศาสตร์